เมนู

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,015] หมวดธรรมเหล่านี้ของภิกษุ 16 ของภิกษุณี 16 คือ
หมวด 1 ถึงหมวด 8 ในคำถามและปัจจัย และหมวด 1 ถึงหมวด 8 ใน
คำถามและปัจจัยอีก เปยยาล อันตราเภท และเอกุตตริกะ ปวารณา อัตถว-
เสปกรณ์ สงเคราะห์เข้ามหาวรรค.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ

อัตถวเสปกรณ วัณณนา


วินิจฉัยในอัตถวเสปกรณ์

พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า ทส อตฺถวเส เป็นต้น คำที่ควรกล่าว ได้กล่าวใน
วัณณนาแห่งปฐมปาราชิกแล้วแล.*
ในบททั้งหลายมีบทว่า ยํ สงฺฆสุฏฺฐุ ตํ สงฺฆผาสุ เป็นอาทิ
บทต้น ๆ เป็นเนื้อความของบทหลัง ๆ.
ก็ด้วยทำให้เป็นบทตั้งทีละบท ในทุก 10 บท ประกอบ 10 ครั้ง
รวมร้อยบทนี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในคำว่า อรรถร้อยหนึ่ง ธรรม
ร้อยหนึ่ง เป็นต้น. พึงทราบอรรถร้อยหนึ่ง ด้วยอำนาจบทหลัง ๆ ในร้อย
บทนั้น. พึงทราบร้อยธรรม ด้วยอำนาจบทต้น ๆ.
อีกอย่างหนึ่ง สิกขาบทอันพระตถาคตทรงอำนาจประโยชน์ 10 เหล่า
ใด ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย อำนาจประโยชน์ 10 เหล่าใด อัน
ข้าพเจ้าพรรณนาแล้ว ในอรรถกถาแห่งปฐมปาราชิกในหนหลัง โดยนัยมีอาทิ
* สมนฺต ปฐม. 258.

อย่างนี้ว่า บรรดาอำนาจประโยชน์ 10 นั้น ความเห็นชอบของสงฆ์ คือ ความ
ยอมรับคำว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า ดุจความยอมรับคำในที่มาว่า ดีแล้ว เทวะ
ชื่อว่าสังฆสุฏฐุตา.
ก็ภิกษุใด ยอมรับคำของพระตถาคต ความยอมรับคำนั้น ของภิกษุ
นั้น ย่อมมี เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ลิ้นกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกระทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนี้ว่า เราจักบัญญัติ เพื่อสงฆ์
ยอมรับคำของเราว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า จักแสดงโทษในการที่ไม่ยอมรับ และ
อานิสงส์ในการที่ยอมรับก่อนจึงจะบัญญัติ จักไม่บัญญัติกดขี่ด้วยหักหาญ ดังนี้
จึงตรัสว่า เพื่อเห็นชอบของสงฆ์. พึงทราบอรรถร้อยหนึ่งเพราะอำนาจประโยชน์
เหล่านั้น มาแล้วในคัมภีร์บริวารนี้ 10 ครั้ง และพึงทราบ ธรรมร้อยหนึ่ง
ด้วยอำนาจบทที่ส่องอรรถนั้น.
พึงทราบนิรุตติสองร้อยเหล่านี้ คือ ด้วยอำนาจแห่งนิรุตติที่ส่องอรรถ
ร้อยนิรุตติ ด้วยอำนาจแห่งนิรุตติที่เป็นตัวธรรมดา ร้อยนิรุตติ.
และพึงทราบญาณสี่ร้อย คือ ร้อยญาณ ในร้อยอรรถ ร้อยญาณ ใน
ในร้อยธรรม สองร้อยญาณ ในสองร้อยนิรุตติ.
จริงอยู่ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ร้อยอรรถ ร้อยธรรม
สองร้อยนิรุตติ รวมเป็นสี่ร้อยญาณ มีในอำนาจประโยชน์ที่เป็นเหตุเริ่มทำ
คำนี้ ทรงอาศัยอรรถเป็นต้นนั้น ตรัสแล้ว ฉะนี้แล.
พรรณนาอัตถวเสปกรณ์ จบ
มหาวัคควัณณนา
ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบแล้ว

ด้วยประการฉะนี้

คาถาสังคณิกะ


ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา


[1,016] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถามว่า ท่านห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือดู
เหมือนมีความมุ่ง มา ณ สถานที่นี้ เพื่อ
ประสงค์อะไร
ท่านพระอุบายลีกราบทูลว่า สิกขาบท
ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง ย่อม
มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ สิกขาบทเหล่านั้น
มีเท่าไร ทรงบัญญัติไว้ ณ พระนครกี่แห่ง
พ. ปัญญาของท่านดี ท่านสอบถาม
โดยแยบคาย เพราะฉะนั้น เราจักบอกแก่
ท่าน ตามที่ท่านเป็นผู้ฉลาดถาม
สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง
ย่อมมาสู่อุเทศทุกวันในอุโบสถ สิกขาบท
เหล่านั้นมี 350 สิกขาบท ตถาคตบัญญัติไว้
ณ พระนคร 7 แห่ง.

[1,017] อุ. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ
ไว้ ณ พระนคร 7 แห่ง ๆ ไหนบ้าง ขอ
พระองค์ได้โปรดแจ้งพระนคร 7 แห่งนั้น